29 ธันวาคม 2556
ระหว่างรอรถไฟชินคังเซ็นที่สถานีโอคายามะ
นั่งรถไฟชินคังเซ็น "ซากุระ" ไปที่สถานีฮาคาตะ
หลังจากถึงฮาคาตะแล้ว เราไปเช็คอินที่โรงแรมก่อน แล้วเราก็นั่งรถไฟชินคังเซ็นไปที่ชินโทสึ เพื่อจะไปชมสวนประวัติศาสตร์โยชิโนการิครับ
นี่คือรถไฟชินคังเซ็นของคิวชู
และเราก็มาถึงสวนประวัติศาสตร์ โยชิโนะการิ
ยุคยาโยอิของญี่ปุ่นเป็นยุคที่การปลูกข้าวพัฒนาขึ้นอย่างมาก แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นยุคที่มีการพุ่งรบกันมากที่สุดยุคหนึ่ง สาเหตุมาจากการแย่งข้าวและเสบียง
ในยุคนี้ญี่ปุ่นยังมิได้รวมกันเป็นประเทศเดียว แต่แบ่งเป็นแคว้นๆ และในแต่ละหมู่บ้านจะแต่งตั้งพระราชาของหมู่บ้านตน
ญี่ปุ่นในยุคนี้เริ่มเป็นที่รู้จักโดยจีน ซึ่งทางจีนเรียกประเทศนี้ว่า "วะ" จดหมายเหตุโฮ้วฮั่นซู ซึ่งบันทึกเรื่องราวในราชวงศ์ฮั่นตะวันออกบันทึกว่าอาณาจักร "นะ" ส่งบรรณาการแด่ฮ่องเต้ฮั่นกวงหวู่ ฮ่องเต้จึงพระราชทานตราประทับทองคำรับรองอาณาจักรนี้ และจดหมายเหตุสามก๊ก ฉบับแคว้นเว่ย (วุยก๊ก ต่อไปขอเรียกชื่อนี้เนื่องจากเป็นชื่อที่คนไทยรู้จัก) ระบุว่า ราชินีฮิมิโกะแห่งอาณาจักรยามาไต (ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าอยู่ที่ไหน คิวชู? คันไซ?) ส่งเครื่องราชบรรณาการไปยังวุยก๊ก
ประตูเข้าตัวหมู่บ้าน
หอใต้ คาดว่าน่าจะเป็นที่ประทับและพำนักของพระราชาและบุคคลชั้นปกครอง ส่วนหอเหนือ (ไม่มีรูป เพราะถ่ายไม่ได้ รั้วมันบัง) นั้นคาดว่าเป็นปะรำพิธี
ข้างบนเป็นตัวหมู่บ้าน
คูน้ำ
อันนี้ภายในรถ
ด้านขวาของรูปข้างบนเป็นส่วนพิพิธภัณฑ์โบราณวัตถุ เราจะเข้าไปชมกัน
สงสัยใช่ไหมครับว่าทำไมถึงต้องสร้างสวนที่จังหวัดซางะด้วย เพราะว่าเป็นสถานทีีที่โบราณวัตถุสมัยยาโยอิถูกขุดพบมากที่สุดครับ
นี่คือเขื่อนคาเสะงาวะ สร้างขึ้นเพื่อลดผลกระทบจากภัยน้ำท่วมและรักษาระบบนิเวศน์ตามลำน้ำ สร้างเสร็จเมื่อปี 2012 ทีนี้มันเกี่ยวกับสวนประวัติศาสตร์นี้อย่างไร คือตอนสร้างเขื่อน กระทรวงที่ดิน โยธาธิการ คมนาคม และการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการได้สั่งให้ย้ายต้นไม้ในพื้นที่ที่คาดว่าจะจมอยู่ใต้น้ำ ไปปลูกที่สวนประวัติศาสตร์โยชิโนะการิ (อยู่ถัดไปจากพิพิธภัณฑ์ แต่ไม่ได้ไป เพราะไม่มีเวลามากนัก)
และนี่คือรูปการย้ายต้นไม้
นี่คือรูปสวนประวัติศาสตร์แห่งนี้
รูปข้่างบนคือบันไดบ้าน
สองรูปข้างบนเป็นข้าวของเครื่องใช้ในสมัยนั้น นอกจากนี้ยังขุดพบเครื่องปั้นดินเผาในแถบนี้เป็นจำนวนมาก
ตรงนี้เป็นที่สาธิตให้เด็กลองตำข้าวด้วยครก (จำลองแบบจากสมัยยาโยอิ)
เรานั่งรถต่อไปยังนิทรรศการ ระหว่างนี้ผมถ่ายรูปข้างทางมาอีก 3 รูป
ทางโน้นเป็นสวนสำหรับให้เด็กเล่น
และเราก็มาถึงประตูหมู่บ้านหลัก
ขวากรอบตัวหมู่บ้าน
เราเข้าไปในนิทรรศการ แต่ข้างในเขาไม่ให้ถ่าย (ยกเว้นส่วนที่ให้ถ่ายรูปเป็นที่ระลึก ซึ่งเดี๋ยวผมจะโชว์) ผมจำได้ว่าข้างในจัดแสดงอาวุธที่มีอยู่ตอนนั้น เช่น ดาบ หอก ฯลฯ นอกจากนี้ยังพบไหดินเผาที่บรรจุโครงกระดูก...ไม่มีหัว! ไม่ทราบว่าหายไปไหน อาจจะถูกตัดหัวตอนสู้รบหรือเขาตัดหัวก่อนบรรจุใส่ไห เพราะพบรอยแตกตรงกระดูกไหปลาร้ากับซี่โครง คาดว่าอาจจะผ่านการสู้รบมา
ปิดท้ายด้วยรูปรถไฟชินคังเซ็นของคิวชูและบรรยากาศสวยๆหน้าสถานีฮาคาตะ
บทความนี้ยาวสักหน่อยเพราะเนื้อหาละเอียด+รูปเยอะมาก
เจอกันบทความต่อไปครับผม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น